อาการปวดหลังที่ผิดปกติ อาจเป็นหมอนรองกระดูกแตก ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดหลัง



พออายุมากขึ้นเรามักจะพบว่าปวดหลังบ่อยและรุนแรงขึ้น ซึ่งอาจจะต้องรักษาด้วยการผ่าตัดหลัง อาการปวดหลังของแต่ละคนก็มีที่มาแตกต่างกัน การแยกแยะด้วยตัวเองว่าอาการปวดหลังที่เป็นอยู่มาจากสาเหตุอะไรค่อนข้างยาก วิธีที่ดีที่สุดคือควรมาพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยให้รู้สาเหตุแน่ชัด หากพิจารณาในกลุ่มคนทำงาน หรือคนที่อายุไม่มาก อาการปวดหลังที่พบมักมาจากสาเหตุหมอนรองกระดูกเคลื่อนหรือแตกทับเส้นประสาท เป็นที่มาของอาการปวดหลังร้าวลงขาที่พบบ่อยในคนวัยทำงาน ลักษณะอาการปวด เช่น ก้มลงไปยกของขึ้นมา ปวดเสียวร้าวลงขา ปวดจนต้องปล่อยของที่ถืออยู่ในมือจนตัวจะทรุดลงไป อาการนี้ค่อนข้างชัดเจนว่าหมอนรองกระดูกแตก
การผ่าตัดหลัง รักษาหมอนรองกระดูกเคลื่อน
1. การผ่าตัดแบบมาตรฐาน ในยุคแรกจะผ่าหลังแบบเปิดแผลลงไปตรงๆ เปิดกล้ามเนื้อหลังออกเป็นช่อง และจำเป็นต้องตัดกระดูกบางส่วนเพื่อจะเข้าถึงหมอนรองกระดูกที่อยู่ด้านหลังของกระดูกสันหลังได้ วิธีนี้มีข้อจำกัด ประการคือแรกทำให้กล้ามเนื้อบาดเจ็บ ประการที่สองจำเป็นต้องสูญเสียกระดูกบางส่วน และหลังจากผ่าตัดแล้วจะทำให้ผู้ป่วยปวดหลังต่ออีกระยะหนึ่ง เนื่องจากมีการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อหลังจากการผ่าตัด
2. การผ่าตัดผ่านกล้องจุลทรรศน์ ศัลยแพทย์จะมองผ่านกล้องจุลทรรศน์ในการผ่าตัด เพื่อขยายภาพให้ชัดเจนขึ้น ทำให้แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กลง การบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อลดลง แต่ยังคงต้องตัดกระดูกบางส่วนออกอยู่ดี
3. การผ่าตัดผ่านกล้องเอนโดสโคป วิธีนี้พัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ไขข้อจำกัดและลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ของการผ่าตัดแบบมาตรฐาน โดยศัลยแพทย์จะเจาะรูเพื่อสอดกล้องเข้าไปในร่างกาย ซึ่งเลนส์กล้องจะติดอยู่ตรงส่วนปลายของสาย ทำให้เห็นภาพพยาธิสภาพภายในได้ชัดเจน ส่วนการนำเศษหมอนรองกระดูกที่แตกออก ทำได้โดยการสอดเครื่องมือผ่านสายกล้องเข้าไป เพื่อนำเครื่องมือเข้าไปดึงหมอนรองกระดูกที่แตกออกผ่านสายกล้อง โดยไม่ต้องเจาะแผลเพิ่ม และไม่จำเป็นต้องใช้ยาสลบ แค่ใช้ยาชาเฉพาะที่เท่านั้น เพราะฉะนั้นในขณะทำผ่าตัดผู้ป่วยจะรู้สึกตัว และสามารถบอกแพทย์ได้เมื่อเกิดสิ่งผิดปกติ หรือเมื่อแพทย์นำหมอนรองกระดูกที่แตกออกมา ผู้ป่วยจะรู้สึกได้ทันทีว่าหายปวด ความปลอดภัยจึงมีมากขึ้น ระยะเวลาในการพักฟื้นสั้นลง นอนพักฟื้นที่โรงพยาบาลแค่ 1 คืน

ดูข้อมูลเพิ่มเติ่มเกี่ยวกับการผ่าตัดหลังได้ที่ http://www.vejthani.com/TH/Article/137/ผ่าตัดหลังเรื่องเล็กจริงหรือ?

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทำความรู้จักกับ Hybrid Slot (ซิมไฮบริด) ใช้งานได้ 2 ซิม พร้อมหมดห่วงเรื่องหน่วยความจำเต็ม

มาดู ข้อดี ข้อเสีย ของเคสโทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน แบบต่างๆ กันดีกว่า

ส่องเทรนด์มือถือปี 2019 เราจะได้เห็นอะไรในวงการ smartphone ปีนี้บ้าง?