โรคกระดูกพรุน โรคที่ใครก็ไม่อยากเป็น
โดยปกติกระดูกของเรามีเซลล์หลักอยู่
2 ชนิด ชนิดแรกเป็นเซลกระดูกที่มีหน้าที่สลายกระดูกเรียกว่า Osteoclast
เซลล์อีกชนิดหนึ่งมีหน้าที่สร้างกระดูกใหม่เรียกว่า Osteoblast
เซลล์ทั้ง 2
ชนิดนี้ทำงานอยู่ตลอดเวลาตั้งแต่เกิดจนตาย ดังนั้นเมื่อมีอายุมากขึ้นสภากระดูกจึงมีการเสื่อมโทรมลงตามธรรมชาติ
ในรายที่ผู้ป่วยอายุยังไม่มาก สาเหตุอาจมาจากการใช้ชีวิตประจำวัน
เช่นการกินอาหารทำลายกระดูก อย่างเช่น น้ำอัดลมต่างๆ
ก็มีส่วนในการทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนนี้ได้
อาการเมื่อเป็นโรคกระดูกพรุน
ผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกพรุนนั้นมักจะมีอาการปวดหลัง
ซึ่งเป็นอาการหนึ่งที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยสูงอายุที่มีโรคกระดูกพรุน
ในผู้ป่วยที่อายุยังน้อย โรคกระดูกพรุนมักจะไม่มีอาการใดๆ
การตรวจหาโรคกระดูกพรุน
การตรวจหาโรคกระดูกพรุนด้วยเครื่องตรวจมวลกระดูก
(Bone
Densitometer) เป็นวิธีที่จะทราบถึงสภาวะมวลกระดูกของเราได้ดีที่สุด
การตรวจหามวลกระดูกจะแปรผลออกมาเป็นค่าทางสถิติ
โดยใช้การเปรียบเทียบมวลกระดูกของเรากับมวลกระดูกของประชากรในอายุและเพศเดียวกัน การแปรผลการตรวจมวลกระดูกจะแปรผลออกมา คือ
มวลกระดูกปกติ (Normal) หมายถึง
มีมวลกระดูกหนาแน่นเป็นปกติในอายุยังน้อย
มวลกระดูกบาง (Osteopenia) หมายถึง มีมวลกระดูกน้อยกว่าปกติ แต่ยังไม่ถึงขั้นเป็นโรคกระดูกพรุน
เป็นภาวะที่ต้องรับการรักษาก่อนที่จะเป็นโรคกระดูกพรุน
กระดูกพรุน (Osteoporosis) หมายถึง มีมวลกระดูกน้อยกว่าปกติมากจนเสี่ยงต่อกระดูกหักหรือกระดูกยุบตัว
การป้องกันไม่ให้เกิดโรคกระดูกพรุน
เมื่อผลตรวจมวลกระดูกพบว่ากระดูกปกติ
สิ่งที่ควรปฏิบัติเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นโรคกระดูกพรุนคือ
ออกกำลังกายอย่างสม้ำเสมอ เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์
ทานอาหารที่มีแคลเซียมในปริมาณที่พอเหมาะ ตรวจมวลกระดูกประจำทุกปี
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น